24 มิถุนายน 2481 |
เปิดทำการเป็นสถานีอนามัยชั้นสอง โดยมี นายแจ่มเสียง พัฒน์ เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยเป็นคนแรกและมีนางผดุงครรภ์ชั้น 2 (นส.สุธรรม บัวศรี)เป็นผู้ช่วย |
ปี พ.ศ. 2491 |
นายเชย เพียรทองได้รับราชการเป็นหัวหน้าสถานีอนามัยต่อจากนายแจ่ม |
ปี พ.ศ. 2501 |
บริษัทงานทวีพี่น้อง จำกัด โดยนายชัยสิน งานทวี ได้บริจาคที่ดินประมาณ 3 ไร่ เพื่อก่อสร้างสถานีอนามัยชั้น 1และได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือน กันยายน 2502 ในระยะนั้นสถานีอนามัยประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ อาคารที่ทำการอาคารบ้านพักแพทย์ และอาคารแฝดสำหรับเจ้าหน้าที่ พยาบาลและผดุงครรภ์ โดยมี นพ.ไพโรจน์ ละอองพานิช หัวหน้าสถานี อนามัยชั้น 1 ซึ่งเป็นแพทย์เป็นคนแรก |
20 กรกฏาคม 2515 |
นพ.กล้าหาญ หลิมสิริภาพเป็นหัวหน้าสถานีอนามัยถลางแทน นพ.ไพโรจน์ ซึ่งลาออกจากรราชการ |
กันยายน 2518 |
ได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบทถลาง |
มีนาคม 2521 |
ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอถลาง |
2521 - 2522 |
นพ.พัฒพงษ์ กุลยานนท์ เป็นผู้อำนวยการแทน นพ.กล้าหาญ ซึ่งย้ายไปเป็น สวบส.จังหวัดภูเก็ต |
2522 - 2526 |
นพ.ชลิต พงษ์สมบูรณ์ เป็นผู้อำนวยการแทน นพ.พัฒพงษ์ ซึ่งย้ายไป รพ.วชิระภูเก็ต ในปีนี้เองได้มีการก่อสร้างอาคารศูนย์โภชนาการเด็ก และต่อมาในปี 2523 ได้สร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด 6 X 12 เมตร ด้วยเงินกสช. และเงินบริจาคและเปิดรับผู้ป่วยในได้ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2525 |
ปี 2524 |
ได้ก่อสร้างโรงปั่นไฟฟ้า และปี 2525 ในโอกาสฉลอง สมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้สร้างระบบประปาในโรงพยาบาล ด้วยเงินบำรุงและเปิดใช้ได้ในปี 2526 |
ปี 2525 |
โรงพยาบาลถลางได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนถลาง |
ปี 2526 - 2527 |
นพ.วิทยา มีสมรรถ ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการ แทน นพ.ชลิต ซึ่งลาออกไปเรียนต่อหลักสูตรโรคผิวหนัง |
ปี 2527 |
โรงพยาบาลถลางได้รับอนุมัติให้ใช้ที่ราชพัสดุประมาณ 20 ไร่ มูลค่าหนึ่งล้านบาท ซึ่งเดิมเป็นที่โรงเรียนถลางพระนางสร้างใช้ ประโยชน์ ห่างจากที่ตั้ง โรงพยาบาล เดิมประมาณ 2 กม. โดยใช้งบประมาณห้าล้านสามแสนบาทและทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2529 โดยนายกาจ รักษ์มณี ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในขณะนั้น |
ปี 2527 - 2528 |
นส.เย็นจิตร ภิรมย์พร รักษาการแทนผู้อำนวการโรงพยาบาลถลาง (ว่างไม่มีแพทย์ประจำ) |
พ.ค.2530 |
นพ.จิรชัย อมรไพโรจน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลถลาง มีแพทย์ประจำคือ นพ.เฉลิมพล อัศวธีรางกูร การก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2530 และการก่อสร้างถนน และระบบไฟฟ้าได้เสร็จสิ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2530 |
18 พฤษภาคม 2530 |
ได้ขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ไปยังโรงพยาบาลถลางแห่งใหม่ |
25 พฤษภาคม 2530 |
นพ.วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลถลาง แทน นพ.จิรชัย ซึ่งลาออกไปศึกษาต่อด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โดยมี นพ.ประพันธ์ ริมดุสิต เป็นแพทย์ประจำ |
ในปี 2530-2531 |
ได้มีการบริจาคเงินและสิ่งก่อสร้าง เช่น ถนนทางเข้าโรงพยาบาล,อาคารโรงเก็บรถ,สนามกีฬา อาคารโรงตากผ้า, เครื่องช่วยหายใจ,เครื่องซักผ้า,ตู้อบเด็ก ฯลฯ มูลค่าทั้งสิ้นหนึ่งล้านบาทเศษ และมีผู้มารับบริการในโรงพยาบาลถลางแห่งใหม่เพิ่มจำนวนมาก ขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราการครองเตียงสูงถึง 154 % ต่อมาในปีงบประมาณ 2533 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 9,150,000 บาท ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 30 เตียง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2535 และได้เริ่มเปิดดำเนินการให้บริการในอาคารผู้ป่วยนอกใหม่ได้ในกลางเดือน ธันวาคม 2535 และให้บริการผู้ป่วยในในปลายเดือนเดียวกันในการเปิดตึกผู้ป่วยได้มีการระดมทุนจากภาคเอกชนบริจาคสมทบเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่หลายรายการ เช่น ระบบท่อออกซิเจน,ห้องพิเศษติด แอร์และครุภัณฑ์ ใหมทั้งชุด, ม่านประจำเตียงผู้ป่วยเตียงฟลาว์เลอร์, เครื่องนึ่งออโตเคร็ป,เครื่องวัดความดัน และชีพจรอัตโนมัติ ฯลฯ เป็นจำ นวนเงินหนึ่งล้านบาทเศษ ทำให้การให้บริการอยู่ในระดับแนวหน้าของโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน |
ปี2537 |
ได้มีเอกชนสนับสนุนครุภัณฑ์การแพทย์เพิ่มคือเครื่อง กระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความ ทันสมัยสูงในวงเงิน 280,000 บาท และเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2537 ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท นพวงค์ก่อ-สร้าง จำกัดได้ บริจาคถนนราดยางแอสฟัลด์ มูลค่ากว่าสองล้านบาท และป้ายชื่อโรงพยาบาลหินอ่อน 57,000 บาท |
ในปี 2540 |
ได้รับจัดสรรงบประมาณ 11,470,000 บาท ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน 60 เตียง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2541 ในเดือนตุลาคม 2541 จากการประสานงานของนายพีระศักดิ์ พูนเดช นายอำเภอถลาง นายสุเทพ เทพสกุล นายบัญญัติ จริยะเลอพงศ์ นายสรธรรมจินดา นายเสถียร งานภิญโญ นายสุรพล เลี่ยนอุดม สมาชิกสภาจังหวัดเขตอำเภอถลาง และนายบันลือ ตันติวิท นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตทั้งหมดให้การสนับสนุนโรงพยาบาลถลาง จึงได้รับงบ ประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นจำนวนเงิน 4,337,554 บาทเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนใน |